1. ประชุมวางแผนระดมสมองคิดหัวข้อเรื่อง
2. ตัดสินใจเลือกเรื่องที่ดีและเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถที่จะทำได้
3. ประชุมวางแผนกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน
4. ศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องจากเอกสารและเว็บไซท์
5. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนที่จะตอบแบบสอบถาม
6. ออกแบบเครื่องมือแบบสำรวจการปฏิบัติตนบนพื้นฐานความพอเพียง
7. นำแบบสำรวจที่ออกแบบมาเสนอครูที่ปรึกษา
8. ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะครูที่ปรึกษา
9. ดำเนินการสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการปฏิบัติตนบนพื้นฐานความ
พอเพียง จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน โดยทีมงานเป็นผู้ดำเนินการ
10. สรุปผลข้อมูลที่เก็บมา
11. นำสรุปผลข้อมูลเสนอครูที่ปรึกษา
12. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษา
13. เปิดโอกาสให้เพื่อนได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตนบนพื้นฐานความพอเพียงผ่านทางเว็บไซต์ http://grou.ps/anubantak/
14. ออกแบบและจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์แนวทางการดำรงตนบนพื้นฐานความพอเพียงเพื่อเผยแพร่และรณรงค์ให้ความรู้แก่นักเรียนทุกคนในโรงเรียน
15. นำแผ่นพับที่ออกแบบเสนอครูที่ปรึกษา
16. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษา
17. เผยแพร่แผ่นพับความรู้แนวทางการดำรงตนบนพื้นฐานความพอเพียง เพื่อเป็นการ รณรงค์เชิญชวนและสร้างความตระหนักให้นักเรียนได้เกิดจิตสำนึกในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
18. จัดทำเอกสารเป็นรูปเล่มส่งครูที่ปรึกษา
19. นำเสนอสรุปผลการทำโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งเปิดโอกาสช่องทางการเรียนรู้ และรับฟังข้อเสนอแนะผลงานจากเพื่อนๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
19.1 นำเสนอเป็นรูปเล่ม
19.2 นำเสนอเป็นแผ่นพับ
19.3 นำเสนอผ่านเว็บไซต์ https://anubantak.wordpress.com/ www.krunong.com และ http://grou.ps/anubantak/
20. เผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้สนใจ
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
- แบบสำรวจการปฏิบัติตนบนพื้นฐานความพอเพียง
- แผ่นพับความรู้แนวทางการดำรงตนบนพื้นฐานความพอเพียง
สถิติที่ใช้ศึกษา
ค่าร้อยละ