1. ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ มีเวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในชั่วโมงวิชาคิดสร้างสรรค์เท่านั้น จึงทำให้ทีมงานของเราต้องใช้เวลาในช่วงพักกลางวัน ช่วงตอนเย็น ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์เป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทีมงานของเราจะนัดทำงานกันผ่านเว็บไซท์และอินเทอร์เน็ตในการแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน จึงทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ในการทำโครงงานครั้งนี้จึงทำให้เรารู้จักวิธีการแก้ปัญหาในการทำงานได้
2. การเก็บข้อมูลนักเรียนได้ไม่ครบทุกส่วน เนื่องจากในช่วงวันที่เก็บข้อมูลอาจมีนักเรียนขาดเรียน และมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่คิดว่าอาจจะอ่านแบบสอบถามไม่เข้าใจ ทีมงานเราจึงคิดว่าหากมีโอกาสในการทำโครงงานครั้งต่อไป ควรปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปเป็นการซักถามหรือสัมภาษณ์แทน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลครบถ้วนทุกชั้น
3. จากการทำโครงงานครั้งนี้ ทีมงานของเราได้มีการแจกแผ่นพับรณรงค์เชิญชวนให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลตากได้ปฏิบัติตนตาม 10 แนวทางปฏิบัติ จึงคิดว่าหากมีโอกาสควรจะมีการรณรงค์ในรูปแบบวิธีการอื่นๆ เช่น ให้ความรู้รณรงค์หน้าเสาธงทุกเช้า ทำป้ายโปสเตอร์ติดตามจุดบริเวณต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน หรืออาจจะมีใช้วิธีการอื่นๆที่หลากหลายและเหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติตามแนวทางฯให้ได้มากที่สุด
4. ทางทีมงานของเราคิดว่าหลังจากมีการรณรงค์แล้ว หากมีโอกาสควรที่จะมีการติดตามประเมินผลพฤติกรรมในการปฏิบัติตนของนักเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะใช้วิธีการสังเกต หรือแบบประเมินพฤติกรรมตนเอง เพื่อที่ทีมงานเราจะได้เป็นส่วนร่วมพลังน้อยๆ ในการสร้างสรรค์การดำเนินตามรอยพ่ออย่างยั่งยืนตลอดไป
Posted by ณัฐพล สุรินทร์ตา on พฤศจิกายน 10, 2010 at 7:04 am
ดีมาก
Posted by ณัฐพล สุรินทร์ตา on พฤศจิกายน 10, 2010 at 7:05 am
ดีมากพี่ทำสวย