ผลการศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป 

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียนเพศชายคิดเป็นร้อยละ 54 เป็นนักเรียนเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 46

2. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83 รองลงมาอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 13 และอยู่ในระดับน้อย คิดเป็น    ร้อยละ 4 ตามลำดับ

3. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนได้รับเงินมาโรงเรียนต่อวัน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามได้รับเงินมาโรงเรียน 31-40 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29 รองลงมา ได้รับเงินมาโรงเรียนวันละ 11-20 บาท คิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมาได้รับเงินมาโรงเรียน   วันละ 21-30 บาท คิดเป็นร้อยละ 22 รองลงมาได้รับเงินมาโรงเรียนมากกว่า 40 บาท คิดเป็นร้อยละ 17 รองลงมาได้รับเงินมาโรงเรียนวันละ 1-10 บาท คิดเป็นร้อยละ 3 และไม่ได้เงินมาโรงเรียน คิดเป็น    ร้อยละ 1 ตามลำดับ

4. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนมีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละวัน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละวันไม่เกิน 10 บาท มากที่สุด    คิดเป็นร้อยละ 66 รองลงมา มีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละวัน 11-20 บาท คิดเป็นร้อยละ 17 รองลงมามีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมากกว่า 20 บาท คิดเป็นร้อยละ 11 และไม่มีเงินที่เหลือเก็บจากการใช้จ่ายในแต่ละวันเลย น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 6 ตามลำดับ

5. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนด้านวิธีการเก็บออมเงิน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีวิธีการเก็บเงินด้วยการหยอดกระปุกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68 รองลงมา นำไปฝากธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 28 และด้วยวิธีการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 4 ตามลำดับ

6 ผลการสำรวจข้อมูลการปิดไฟหรือพัดลมเมื่อไม่ใช้ในห้องเรียนของนักเรียน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการปิดไฟหรือพัดลมเมื่อไม่ใช้ในห้องเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83 รองลงมา มีการปิดเป็นบางครั้ง คิดเป็นร้อยละ 11 และไม่มีการปิดเลย คิดเป็นร้อยละ 6 ตามลำดับ

7. ผลการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนในการรับประทานอาหารกลางวัน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามรับประทานอาหารหมดเป็นบางครั้งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55 รองลงมา รับประทานหมดทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 25 และรับประทานไม่หมดเลย คิดเป็นร้อยละ 20 ตามลำดับ

8. ผลการสำรวจข้อมูลการนำขวดน้ำดื่มที่ดื่มหมดแล้ว เอาไปทำอะไร

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามนำขวดน้ำดื่มที่ดื่มหมดแล้วไปประดิษฐ์เป็นของใช้หรือของเล่น     มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมา นำไปทิ้งถังขยะ คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมานำเก็บไปไว้ขาย   คิดเป็นร้อยละ 19 และอื่นๆ เช่น เอาไปใส่น้ำดื่มต่อ คิดเป็นร้อยละ 5 ตามลำดับ

 

9. ผลการสำรวจข้อมูลด้านการใช้เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน เช่น ยางลบ ดินสอฯลฯ    อย่างคุ้มค่า
          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียนอย่างคุ้มค่าปานกลาง       มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 79 รองลงมา ใช้อย่างคุ้มค่ามาก คิดเป็นร้อยละ 18 รองลงมา ใช้อย่างคุ้มค่าน้อย คิดเป็นร้อยละ 2 และใช้อย่างไม่คุ้มค่า คิดเป็นร้อยละ 1 ตามลำดับ

10 ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนใช้สมุดทุกหน้ากระดาษหรือไม่

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้สมุดเป็นบางหน้ากระดาษมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57 รองลงมา ใช้สมุดทุกหน้ากระดาษ คิดเป็นร้อยละ 43 ตามลำดับ

11. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนด้านการออกกำลังกาย

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการออกกำลังกายเป็นบางครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 26 และไม่เคยออกำลังกายเลย คิดเป็นร้อยละ 4 ตามลำดับ

12. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนชอบรับประทานอาหารประเภทใด

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชอบรับประทานอาหารประเภทผลไม้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77 รองลงมา ชอบรับประทานไก่ทอด คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา ชอบดื่มนม คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา ชอบรับประทานผักใบเขียว คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา ชอบดื่มน้ำอัดลมและรับประทานขนมกรุบกรอบ คิดเป็นร้อยละ 35 รองลงมา ชอบรับประทานหมากฝรั่ง คิดเป็นร้อยละ 32 และชอบรับประทานลูกอม/ช๊อคโกแลต คิดเป็นร้อยละ 31 ตามลำดับ

13. ผลการสำรวจข้อมูล วิธีการเลือกซื้อสินค้าของนักเรียน

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีวิธีการเลือกซื้อสินค้าโดยดูจากคุณภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา ดูจากราคา คิดเป็นร้อยละ 22 และดูจากสีสันสวยงามและดูจากโฆษณา คิดเป็นร้อยละ 4 ตามลำดับ

 

14. ผลการสำรวจข้อมูลการทำบันทึกสมุดบัญชีรายรับ-จ่ายประจำวันของนักเรียน  

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการทำบันทึกสมุดบัญชีรายรับ-จ่ายประจำวันเป็นบางครั้ง       มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48 รองลงมา ไม่มีการบันทึก คิดเป็นร้อยละ 34 และมีการบันทึก คิดเป็น   ร้อยละ 18 ตามลำดับ

15. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนด้านการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

          พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90 รองลงมา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 6 รองลงมา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยมาก คิดเป็นร้อยละ 3 และไม่เคยปฏิบัติเลย คิดเป็นร้อยละ 1 ตามลำดับ

 

16. ผลการสำรวจข้อมูลนักเรียนด้านการแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                        พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีการแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นบางครั้ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68 รองลงมา มีการแนะนำสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 22 และไม่เคยแนะนำเลย คิดเป็นร้อยละ 10 ตามลำดับ

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: